วันที่นำเข้าข้อมูล 17 ต.ค. 2561
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 5 พ.ย. 2562
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2561 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางเข้าร่วมการประชุม ASEAN Leaders’ Gathering (ALG) ณ เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการกับผู้นำองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ องค์การสหประชาชาติ (United Nations - UN) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund - IMF) และธนาคารโลก (World Bank) โดยจัดขึ้นในช่วงการประชุมประจำปีของกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก ปี 2561 (2018 Annual Meetings of the IMF and World Bank Group) สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. การประชุม ALG มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการหารือระหว่างผู้นำอาเซียน 10 ประเทศกับเลขาธิการสหประชาชาติ กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และประธานธนาคารโลก ซึ่งเป็นโอกาสให้อาเซียนได้แสดงบทบาทนำที่จะร่วมมือกันผลักดันวาระสำคัญระดับโลก ได้แก่ การส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนและการลดช่องว่างการพัฒนาในภูมิภาคเพื่อส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค โดยใช้ประโยชน์จากหุ้นส่วนระหว่างภูมิภาคกับองค์การระหว่างประเทศ
2. การประชุมครั้งนี้สะท้อนว่า ความสำคัญที่องค์การระหว่างประเทศ กล่าวคือ UN, IMF และ World Bank ให้กับอาเซียนและเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นการส่งเสริมบทบาทประเทศไทยในฐานะผู้ประสานงานอาเซียนในเรื่องนี้
3. นายกรัฐมนตรีได้แลกเปลี่ยนมุมมองกับผู้นำอาเซียนอื่น ๆ และผู้บริหารองค์การระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาภายใต้หัวข้อ “Achieving SDGs and Overcoming Development Gap through Regional and Global Collaborative Actions” และได้ผลักดันข้อเสนอต่าง ๆ เช่น
3.1 การส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาคและของโลก โดยเน้นการที่ IMF ควรให้ flexibility กับ emerging economies มากขึ้นในเรื่องนโยบายการเงินและสนับสนุน financial inclusion และการสร้างภูมิคุ่มกันทางการเงิน
3.2 การเชิญชวนให้ World Bank กับ UN ทำการศึกษาวิจัยที่แนะนำการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยงเดิมในภูมิภาค (Connecting the Connectivities) โดยรวมถึง BRI, Quality Infrastructure, MPAC 2025, ACMECS Master Plan และ IMT-GT เป็นต้น อีกทั้งสร้าง partnerships ระหว่าง World Bank, ADB และ AIIB ในการระดมทุนและ
3.3 การผลักดันแนวคิด SEP for SDGs ในบริบทของภูมิภาคและการที่อาเซียนจะจัดตั้ง “ศูนย์อาเซียนเพื่อการหารือและการศึกษาวิจัยด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน” ในไทยในปี 2562 ซึ่งจะช่วยให้อาเซียนบรรลุ SDGs และเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางมากยิ่งขึ้น ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และมองไปสู่อนาคต
4. นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับการพัฒนามนุษย์ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของการพัฒนาที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับแนวคิดของธนาคารโลกที่ได้ริเริ่ม human capital index จึงได้เสนอว่าไทยจะเป็นเจ้าภาพ high level meeting ที่จะหารือเรื่องการพัฒนา human capital ระหว่างอาเซียน World Bank, IMF และ UN
5. เลขาธิการสหประชาติได้กล่าวสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์อาเซียนดังกล่าวที่ประเทศไทย และประธานธนาคารโลกได้ชี้ให้เห็นว่า ในอดีตธนาคารโลกได้เคยให้คำแนะนำประเทศต่างๆ ว่า ควรลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานก่อนแล้วค่อยลงทุนกับคน แต่ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ไม่ทำตามคำแนะนำดังกล่าว แต่กลับลงทุนในด้านสาธารณสุข (Universal Health Coverage) อย่างครอบคลุมทั่วถึง ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อการเจริญเติบโตของประเทศอย่างต่อเนื่อง จึงต้องการให้นานาประเทศให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ซึ่งหมายถึงการดูแลคนทั้งในด้านการศึกษาและด้านสุขภาพเนื่องจากมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งการที่ธนาคารโลกเสนอแนวคิด human capital index แสดงถึงการเปลี่ยนแปลง approach ของธนาคารโลกในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน
6. การประชุมครั้งนี้ได้สร้าง momentum สำหรับประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืนและเรื่อง Complementarities Initiative ของไทยเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะเป็นการปูทางสำหรับการเป็นประธานอาเซียนของไทยในปีหน้าและ priority เรื่องการส่งเสริมความยั่งยืน
รูปภาพประกอบ
วันทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)