การประชุมเชิงปฏิบัติการ ASEAN Regional Forum (ARF) Joint Workshop on Promoting a Nuclear Weapons Free Status of Mongolia

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ASEAN Regional Forum (ARF) Joint Workshop on Promoting a Nuclear Weapons Free Status of Mongolia

วันที่นำเข้าข้อมูล 7 ต.ค. 2558

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 2,559 view

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ASEAN Regional Forum (ARF) Joint Workshop on Promoting

a Nuclear Weapons Free Status of Mongolia

            เมื่อวันที่ 3-4 กันยายน 2558 น.ส. อุศณา พีรานนท์ ผู้อำนวยการกองการเมืองและความมั่นคง ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ASEAN Regional Forum (ARF) Joint Workshop on Promoting  a Nuclear Weapons Free Status of Mongolia ที่กรุงอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย

            ที่ประชุมฯ รับทราบความพยายามและความคืบหน้าในการประกาศตนเป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Weapons Zone – NWFZ) ของมองโกเลีย  โดยกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทั้ง 5 ประเทศ (P-5) ได้ยอมรับสถานะการปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ( Nuclear Weapons Zone Status) ของมองโกเลียเมื่อปี 2555 นอกจากนั้น มองโกเลียยังเสนอให้มีการจัดตั้งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ (NEW-NWFZ) เพื่อส่งเสริมการลดและไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ด้วย

            ไทยได้บรรยายสรุปเกี่ยวกับสนธิสัญญาว่าด้วยการปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southest Asian Nuclear-Weapon-Free Treaty – SEANWFZ) ซึ่งที่ประชุมฯ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยสนธิสัญญาดังกล่าวเป็นการตอบสนองภัยคุกคามจากการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ รวมทั้งเป็นหนึ่งในมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาค ทั้งนี้ SEANWFZ เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เขตเดียวที่ครอบคลุมถึงเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone – EEZ) และไหล่ทวีป (Continental Shelf – CS) โดยอาเซียนกำลังหารือเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การตั้งข้อสงวนของประเทศที่จะเข้าเป็น ภาคี รวมทั้งแนวทางที่เหมาะสมเพื่อให้กลุ่มประเทศ P-5 สามารถเข้าเป็นภาคี SEANWFZ ได้โดยเร็ว

            ที่ประชุมฯ เห็นพ้องว่าต้องส่งเสริมการลดและไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ รวมทั้งเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญแก่การส่งเสริมความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นรวมถึงการสร้างเครือข่ายระหว่างเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคต่าง ๆ ในฐานะที่เป็น building blocks ไปสู่การปลดอาวุธนิวเคลียร์ (nuclear disarmament) ในระดับโลก

ภาพจาก: http://www.mfa.gov.mn

               http://www.dfa.gov.ph

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ